Patch เรือเหาะ | WOWS Liftoff


เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2558 เหมือนจะได้โพสว่า กำลังจะมี Patch ของเกมส์ World Of WarShips ที่เรือไม่ได้อยู่ในน้ำ แต่ลอยอยู่บนฟ้า หลายคนเข้าใจผิด คิดว่าเป็นเรื่องที่ WOWS ล้อเล่น เพราะวันนั้นเป็น "วัน
แห่งความโกหก" แต่จู่ ๆ เหมือนจะไม่ได้ล้อเล่น!

เรือเหาะได้เป็น Patch ในช่วงเวลาสั้น ๆ สำหรับสมาชิกที่ร่วมทำการทดสอบช่วง Beta ซึ่งจะมีเรือทั้งสิ้น 5 ลำด้วยกัน คือ Flyfire, Galaxy, Enterprice, Zaya, และ Yamato.

สิ่งที่ต้องทำคือ เลือกยาน แล้วรอคิวเพื่อเข้าเล่น








สายการวิจัย เรือเรือลาดตระเวน ญี่ปุ่น | Tech Tree: Japanese Cruisers

วิศวกรของญี่ปุ่นได้ออกแบบให้เรือมีหน้าตาคล้าย ๆ กัน นอกเหนือจากปืนสำหรับต่อสู้ทางอากาศยานแล้ว เรือลาดตระเวนของญี่ปุ่นส่วนใหญ่จะมีตอปิโดด้วย

หนึ่งในสิ่งสำคัญที่คุญควรจะรู้ก่อนที่จะเลือกเล่นเรือลาดตระเวนของญี่ปุ่น คือ ตัวเรือมีเกราะค่อนข้างบาง ปืนที่ไม่ค่อยแรงก็สามารถที่จะมีโอกาสเจาะเกราะได้

อีกจุดอ่อนหนึ่งของเรือลาดตระเวนญี่ปุ่นคือ มีปืนสำหรับต่อสู่อากาศยานที่ไม่ค่อยดีนัก เนื่องจากในช่วงที่พัฒนาเรือ อยู่ในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 วิศวกรญี่ปุ่นพยายามที่จะเลียนแบบปืน Bofors แต่ก็เลียนแบบได้ไม่ดีนัก

วิวัฒนาการเรือลาดตระเวนญี่ปุ่น

II Chikuma
II Chikuma
Chikuma เป็นเรือลาดตระเวนลำแรกของญี่ปุ่น ใช้เครื่องยนต์ไอน้ำ เป็นลำเดียวที่ไม่มีตอปิโด แต่มีข้อดีคือมีปืนขนาด 152 มม. จำนวน 6 กระบอก ถือเป็นเรือที่พร้อมรบลำหนึ่ง








III Tatsuta
III Tatsuta
เนื่องจากเรือรุ่นก่อนไม่มีตอปิโด ทีมออกแบบจึงได้เน้นการติดตั้งตอปิโด พร้อมเน้นด้านความเร็ว แต่อย่างไรก็ตาม ปืนหลักถูกลดขนาดลงเหลือ 140 มม.








IV Kuma
IV Kuma
จากจุดอ่อนของ Tatsuta คือมีปืนหลักไม่เพียงพอ เรือรุ่นนี้จึงมีการติดตั้งปืนหลักเพิ่มเป็น 7 กระบอก พร้อมทั้งมีตอปิโดเช่นรุ่นก่อน ความคล่องตัวลดลงเล็กน้อย (เพราะบรรทุกปืนหนักขึ้น)








V Furutaka
รุ่นนี้มีการพัฒนาปืนต่อสู้ทางอากาศยานซึ่งใช้ปืนขนาด 203 มม. จำนวน 6 กระบอก เป็นเรือลาดตระเวนที่มีประสิทธิภาพเหนือคู่แข่ง


VI Aoba

VI Aoba
เป็นครั้งแรกของเรือลาดตระเวนที่มีป้อมปราการที่ยิ่งใหญ่จำนวน 2 ป้อม  มันจะช่วยให้สามารถยิงปืนใหญ่ได้พร้อมกันมากขึ้น และยังมีตอปิโดเสริมกำลังอีก







VII Mogami
VII Mogami
ท่อตอปิโดขนาด 610 มม. ที่จะสร้างความเสียหายให้เรือรบข้าศึกได้อย่างร้ายแรง และมีปืนใหญ่หลักขนาด 155 มม. เป็นปืนที่ยิงได้รวดเร็ว แต่ผู้เล่นสามารถเปลี่ยนปืนใหญ่ได้ โดยใช้ขนาดใหญ่ขึ้น คือ 203 มม. แต่จะมีความเร็วในการยิงลดลงอย่างมาก







VIII Myōkō

VIII Myōkō
เป็นครั้งแรกที่มีการขยายขนาดเรือไปอย่างมาก มีปืนพร้อมมีเกราะช่วยป้องกัน เมื่อเกราะหนาขึ้น มันจึงมีความคล่องตัวลดลงจากเดิม ตอปิโดที่ใช้มีขนาด 203 มม.







IX Ibuki

IX Ibuki
เนื่องจากรุ่นก่อน ๆ มีการเสริมเกราะเพิ่มขึ้นมาก ทำให้เรือช้า รุ่นนี้จึงเน้นที่ความเร็ว และยังใช้ตอปิโดขนาดเท่าเดิม คือ 203 มม.









X Senjo
X Senjo
เรือลำนี้เป็นโครงการก่อสร้างเรือลาดตระเวนหนัก มันเป็นเรือที่ถูกออกแบบมาอย่างดีเยี่ยม มีป้อมปืน 3 ป้อม แต่อย่างไรก็ตาม เรือลำนี้ไม่ได้ถูกสร้างขึ้น










Reference
http://worldofwarships.com/en/news/common/tech-trees-japanese-cruisers/

สายการวิจัย เรือรบประจัญบานสหรัฐฯ | Tech Tree: US Battleships

เรือรบกองทัพเรือสหรัฐถูกออกแบบโดยวิศวกรที่ชาญฉลาด เขาออกแบบให้เรือรบหุ้มเกราะหนา ๆ ในส่วนที่สำคัญ จึงทำให้เรือรบประจัญบานสหรัฐฯมีความปราดเปรียวอย่างมาก

วิวัฒนาการของเรือรบประจัญบานของสหรัฐฯ

III Michigan
เรือลำนี้เป็นเรือรบลำแรกของสหรัฐฯที่ติดตั้งปืนใหญ่ มันมีปืนใหญ่ขนาด 305 มม จำนวน 8 กระบอก มี 4 ป้อมปืน แต่ละป้อมปืนมีปืนใหญ่ 2 กระบอก

IV Arkansas
USS Arkansas ติดตั้งอาวุธปืนเหมือนกับ Michigan แต่ปืนจะมีมากขึ้น คือมี 12 กระบอก ติดตั้งอยู่ใน 6 ป้อมปืน การติดตั้งปืนมากขึ้นจะทำให้เรือรบสามารถยิงได้รอบทิศทาง

นอกจากจะมีจำนวนปืนมากขึ้นแล้ว ยังมีความเร็วมากขึ้นอีกด้วย (ความเร็วประมาณ 21 น๊อต)

V New York
เรือลำนี้ได้ทำการติดตั้งปืนใหม่ ปืนมีขนาด 356 มม ซึ่งมีความรุนแรงมากขึ้น ปืนใหญ่ที่เรือมีทั้งหมด 10 กระบอก จำนวน 5 ป้อมปืน มันมีความเร็วเท่า ๆ เรือ USS Arkansas (ความเร็วประมาณ 21 น๊อต)

VI New Mexico
นี้เป็นเรือรบประจัญบานสหรัฐ ฯ ลำแรกที่มีการหุ้มเกราะตามมาตรฐาน เกราะมีความหนาถึง 343 มม นอกจากนี้ยังมีปืนสำหรับยิงต่อสู้กับเครื่องบินอีกด้วย

เนื่องจากการเสริมเกราะและเสริมปืนต่อต้านอากาศยาน ทำให้เรือมีความเร็วไม่มากเท่าที่ควร แต่ก็ไม่ได้ช้ากว่าเรือลำก่อนหน้านี้

VII Colorado
อีกขั้นของการพัฒนาปืนใหญ่ ในเรือลำนี้จะใช้ปืนขนาด 406 มม. จำนวน 8 กระบอก ปืนถูกพัฒนามาจากรุ่นก่อน ๆ จะทำให้ประสิทธิภาพของปืนดีขึ้น เรือลำนี้ยังคงใช้ปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานขนาดเท่าเดิม

VIII North Carolina
มาถึงรุ่นนี้ มันถูกลดความหนาเกราะลงเล็กน้อยจาก VII Colorado เพื่อให้เรือเบาขึ้นและสามารถวิ่งได้เร็วขึ้น (ความเร็ว 27 น๊อต) เรือลำนี้ยังคงใช้ปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานขนาดเท่าเดิม

IX Iowa
จากรุ่นก่อนที่ลดความหนาเกราะ ทำให้มันมีความคล่องตัวมากขึ้น มีรายงานว่าเรือ VIII North Carolina สามารถทำงานร่วมกับเรืออื่น ๆ ได้ดี เช่น ไปคู่กับเรือลาดตระเวน รการพัฒนารุ่นนี้จึงเพิ่มความหนาเกราะเพียงเล็กน้อยจาก VIII North Carolina

X Montana
เรือลำนี้ได้ถูกออกแบบไว้ แต่ไม่ได้ถูกสร้างขึ้นมาใช้จริง เรือ Montana จะมีการเสริมเกราะให้หนาขึ้น แต่ว่าความเร็วจะลดลง มีปืนที่ดีขึ้น


Reference
http://worldofwarships.com/en/news/common/tech-tree-us-battleships/

การเจาะเกราะของเรือในเกมส์ [1] | Penetration areas of ships in World of Warships

การจะสร้างเกมส์ให้มีประสิทธิภาพต้องคิดและออกแบบเกมส์ให้มีความสมจริงมากที่สุด ในบทความนี้จะพูดถึงแนวคิดในการออกแบบเกมส์นี้ (World of Warships)


อัตราการเจาะเกราะเป็นตัวแปรสำคัญที่จะบอกว่ากระสูนจะเจาะเกราะได้มากแค่ไหน ค่าการเจาะเกราะจะขึ้นอยู่กับ

1.น้ำหนักของกระสูน
2.ความเร็วของกระสูน
3.มุมที่ตกกระทบเรือข้าศึก

เมื่อกระสุนถูกยิงผ่านลำปืนใหญ่ กระสูนจะมีความเร็วลดลงเรื่อย ๆ (เพราะแรงต้านของอากาศ) การยิงที่ระยะไกลจะทำให้กระสุนวิ่งได้มีความเร็วลดลงมาก(ค่าการเจาะเกราะจะลดลง) แต่การยิงที่ระยะไกล กระสูนปืนมักจะตกลงที่ดาดฟ้าเรือ ซึ่งมีเกราะบางกว่า และจะทำให้มีโอกาสยิงทะลุได้ง่ายกว่า

ภาพ 2 ภาพ ด้านล่าง เป็นภาพเปรียบเทียบ ระหว่างการยิงจากระยะไกล้กับระยะไกล

ยิงจากระยะไกล้
ยิงจากระยะไกล
ในขณะที่เราเล่น ไม่จำเป็นต้องคิดมาก ว่า ควรอยู่ไกล้หรืออยู่ไกลข้าศึกดี ถ้าเห็นข้าศึก ก็ยิง ๆ ไปเลย


ภาพด้านบนเป็นการเปรียบเทียบมุม 2 มุม คือ มุม A1 และ A2 ซึ่งจะเห็นได้ว่า ถ้ายิงมาที่มุม A2 จะทำให้เกราะดูบางลง

S1 เป็นความหนาเกราะที่ยิงมาจาก A1
S2 เป็นความหนาเกราะที่ยิงมาจาก A2

สรุปง่าย ๆ คือ ยิ่งยิงตั้งฉากมาก ยิ่งมีโอกาสยิงทะลุได้ง่าย
ถ้ายิงไม่ตั้งฉาก กระสูนก็มีโอกาสแฉลบ

กระสูนปืนที่สามารถเจาะเกราะเรือได้
กระสูนปืนที่ไม่สามารถเจาะเกราะเรือได้

ผู้ออกแบบเกมส์ได้กล่าวว่า หากมุมตกกระทบมากกว่า 50ํ องศา จะทำให้กระสูนเด้งออก

การเจาะเกราะของเรือในเกมส์ [2] | Penetration areas of ships in World of Warships

บางครั้ง การเจาะเกราะที่ไม่มากพอ จะทำให้กระสูนปืนเกิดการระเบิดและกระจายตัวที่ผิวด้านนอกของเรือ ทำให้สร้างความเสียหายได้น้อย

ลักษณะการเจาะเกราะของกระสูน AP
กระสูนที่หนักที่ยิงมาจากที่ไกล จะทำให้กระสูนมีความเร็วสูง และมีโอกาสทำให้กระสูนเจาะเกราะได้ดีกว่า (ในปัจจุบันผู้ออกแบบยังหาค่าความเสียหายที่เหมาะสมไม่ได้) กระสูนปืนที่มีความสามารถเจาะเกราะได้ดีคือกระสูนประเภท AP แต่กระสูนประเภทนี้จะเกิดการระเบิดไม่มาก

กระสูน HE จะเป็นกระสูนระเบิด เมื่อยิงไปและเกิดการระเบิดจะสร้างความเสียหายได้มาก อย่างดังเช่นรูปด้านล่าง แต่มีข้อเสียคือ เจาะเกราะได้น้อย

กระสูนปืน AP จะสร้างความเสียหายได้มาก หากยิงถูกที่ด้านข้างของลำเรือ
กระสูนปืน HE จะสร้างความเสียหายได้มาก หากยิงถูกที่ดาดฟ้าเรือ

ลักษณะการเจาะเกราะของกระสูน AP
หากกระสูนปืนที่สามารถเจาะเกราะเข้าไปในลำเรือได้ จะเกิดการระเบิด และสร้างความเสียหายให้อุปกรณ์ภายในตัวเรือ

กระสูนที่สามารถเจาะเกราะได้ จะเกิดระเบิดขึ้นภายใน
ทางที่จะสร้างความเสียหายภายในลำเรือ คือ การยิงขีปนาวุธ

หากยิงไปถูกถังน้ำมันเชื้อเพลิง อาจทำให้เรือลำนั้นเกิดไฟไหม้ และสร้างความเสียหายได้มาก

เดินหน้าเต็มตัว | WOWS! Full Steam Ahead


กลิ่นไอทะเลมาถึงแล้ว เข้าสู่การทดสอบระบบในช่วงที่ 2 (Closed Beta) ซึ่งในการเปิดให้ทดสอบระบบนี้จะมีเรือใหม่เพิ่มเข้ามา โดยเฉพาะเรือบรรทึกเครื่องบิน ซึ่งรอบที่ผ่านมานั้นยังไม่มีให้ลองเล่น...

รวมรูปภาพเรือรบ American เกมส์ World Of WarShips

American Destroyers

Clemson
Nicholas

Sampson

Wickes


USS Smith


USS Farragut

USS Fletcher


USS Gearing






































American Cruiser

เรือรบ USS St. Louis
USS Chester

เรือรบ USS Omaha


เรือรบ USS New Orleans
เรือรบ USS Des Moines
Albany

Erie

Phoenix
Atlanta

Baltimore

Cleveland

Pensacola

















































American Battleships









Aircraft Carriers
Langley


Independence
Saipan
Ranger


Lexington

Essex