Patch เรือเหาะ | WOWS Liftoff


เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2558 เหมือนจะได้โพสว่า กำลังจะมี Patch ของเกมส์ World Of WarShips ที่เรือไม่ได้อยู่ในน้ำ แต่ลอยอยู่บนฟ้า หลายคนเข้าใจผิด คิดว่าเป็นเรื่องที่ WOWS ล้อเล่น เพราะวันนั้นเป็น "วัน
แห่งความโกหก" แต่จู่ ๆ เหมือนจะไม่ได้ล้อเล่น!

เรือเหาะได้เป็น Patch ในช่วงเวลาสั้น ๆ สำหรับสมาชิกที่ร่วมทำการทดสอบช่วง Beta ซึ่งจะมีเรือทั้งสิ้น 5 ลำด้วยกัน คือ Flyfire, Galaxy, Enterprice, Zaya, และ Yamato.

สิ่งที่ต้องทำคือ เลือกยาน แล้วรอคิวเพื่อเข้าเล่น








สายการวิจัย เรือเรือลาดตระเวน ญี่ปุ่น | Tech Tree: Japanese Cruisers

วิศวกรของญี่ปุ่นได้ออกแบบให้เรือมีหน้าตาคล้าย ๆ กัน นอกเหนือจากปืนสำหรับต่อสู้ทางอากาศยานแล้ว เรือลาดตระเวนของญี่ปุ่นส่วนใหญ่จะมีตอปิโดด้วย

หนึ่งในสิ่งสำคัญที่คุญควรจะรู้ก่อนที่จะเลือกเล่นเรือลาดตระเวนของญี่ปุ่น คือ ตัวเรือมีเกราะค่อนข้างบาง ปืนที่ไม่ค่อยแรงก็สามารถที่จะมีโอกาสเจาะเกราะได้

อีกจุดอ่อนหนึ่งของเรือลาดตระเวนญี่ปุ่นคือ มีปืนสำหรับต่อสู่อากาศยานที่ไม่ค่อยดีนัก เนื่องจากในช่วงที่พัฒนาเรือ อยู่ในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 วิศวกรญี่ปุ่นพยายามที่จะเลียนแบบปืน Bofors แต่ก็เลียนแบบได้ไม่ดีนัก

วิวัฒนาการเรือลาดตระเวนญี่ปุ่น

II Chikuma
II Chikuma
Chikuma เป็นเรือลาดตระเวนลำแรกของญี่ปุ่น ใช้เครื่องยนต์ไอน้ำ เป็นลำเดียวที่ไม่มีตอปิโด แต่มีข้อดีคือมีปืนขนาด 152 มม. จำนวน 6 กระบอก ถือเป็นเรือที่พร้อมรบลำหนึ่ง








III Tatsuta
III Tatsuta
เนื่องจากเรือรุ่นก่อนไม่มีตอปิโด ทีมออกแบบจึงได้เน้นการติดตั้งตอปิโด พร้อมเน้นด้านความเร็ว แต่อย่างไรก็ตาม ปืนหลักถูกลดขนาดลงเหลือ 140 มม.








IV Kuma
IV Kuma
จากจุดอ่อนของ Tatsuta คือมีปืนหลักไม่เพียงพอ เรือรุ่นนี้จึงมีการติดตั้งปืนหลักเพิ่มเป็น 7 กระบอก พร้อมทั้งมีตอปิโดเช่นรุ่นก่อน ความคล่องตัวลดลงเล็กน้อย (เพราะบรรทุกปืนหนักขึ้น)








V Furutaka
รุ่นนี้มีการพัฒนาปืนต่อสู้ทางอากาศยานซึ่งใช้ปืนขนาด 203 มม. จำนวน 6 กระบอก เป็นเรือลาดตระเวนที่มีประสิทธิภาพเหนือคู่แข่ง


VI Aoba

VI Aoba
เป็นครั้งแรกของเรือลาดตระเวนที่มีป้อมปราการที่ยิ่งใหญ่จำนวน 2 ป้อม  มันจะช่วยให้สามารถยิงปืนใหญ่ได้พร้อมกันมากขึ้น และยังมีตอปิโดเสริมกำลังอีก







VII Mogami
VII Mogami
ท่อตอปิโดขนาด 610 มม. ที่จะสร้างความเสียหายให้เรือรบข้าศึกได้อย่างร้ายแรง และมีปืนใหญ่หลักขนาด 155 มม. เป็นปืนที่ยิงได้รวดเร็ว แต่ผู้เล่นสามารถเปลี่ยนปืนใหญ่ได้ โดยใช้ขนาดใหญ่ขึ้น คือ 203 มม. แต่จะมีความเร็วในการยิงลดลงอย่างมาก







VIII Myōkō

VIII Myōkō
เป็นครั้งแรกที่มีการขยายขนาดเรือไปอย่างมาก มีปืนพร้อมมีเกราะช่วยป้องกัน เมื่อเกราะหนาขึ้น มันจึงมีความคล่องตัวลดลงจากเดิม ตอปิโดที่ใช้มีขนาด 203 มม.







IX Ibuki

IX Ibuki
เนื่องจากรุ่นก่อน ๆ มีการเสริมเกราะเพิ่มขึ้นมาก ทำให้เรือช้า รุ่นนี้จึงเน้นที่ความเร็ว และยังใช้ตอปิโดขนาดเท่าเดิม คือ 203 มม.









X Senjo
X Senjo
เรือลำนี้เป็นโครงการก่อสร้างเรือลาดตระเวนหนัก มันเป็นเรือที่ถูกออกแบบมาอย่างดีเยี่ยม มีป้อมปืน 3 ป้อม แต่อย่างไรก็ตาม เรือลำนี้ไม่ได้ถูกสร้างขึ้น










Reference
http://worldofwarships.com/en/news/common/tech-trees-japanese-cruisers/

สายการวิจัย เรือรบประจัญบานสหรัฐฯ | Tech Tree: US Battleships

เรือรบกองทัพเรือสหรัฐถูกออกแบบโดยวิศวกรที่ชาญฉลาด เขาออกแบบให้เรือรบหุ้มเกราะหนา ๆ ในส่วนที่สำคัญ จึงทำให้เรือรบประจัญบานสหรัฐฯมีความปราดเปรียวอย่างมาก

วิวัฒนาการของเรือรบประจัญบานของสหรัฐฯ

III Michigan
เรือลำนี้เป็นเรือรบลำแรกของสหรัฐฯที่ติดตั้งปืนใหญ่ มันมีปืนใหญ่ขนาด 305 มม จำนวน 8 กระบอก มี 4 ป้อมปืน แต่ละป้อมปืนมีปืนใหญ่ 2 กระบอก

IV Arkansas
USS Arkansas ติดตั้งอาวุธปืนเหมือนกับ Michigan แต่ปืนจะมีมากขึ้น คือมี 12 กระบอก ติดตั้งอยู่ใน 6 ป้อมปืน การติดตั้งปืนมากขึ้นจะทำให้เรือรบสามารถยิงได้รอบทิศทาง

นอกจากจะมีจำนวนปืนมากขึ้นแล้ว ยังมีความเร็วมากขึ้นอีกด้วย (ความเร็วประมาณ 21 น๊อต)

V New York
เรือลำนี้ได้ทำการติดตั้งปืนใหม่ ปืนมีขนาด 356 มม ซึ่งมีความรุนแรงมากขึ้น ปืนใหญ่ที่เรือมีทั้งหมด 10 กระบอก จำนวน 5 ป้อมปืน มันมีความเร็วเท่า ๆ เรือ USS Arkansas (ความเร็วประมาณ 21 น๊อต)

VI New Mexico
นี้เป็นเรือรบประจัญบานสหรัฐ ฯ ลำแรกที่มีการหุ้มเกราะตามมาตรฐาน เกราะมีความหนาถึง 343 มม นอกจากนี้ยังมีปืนสำหรับยิงต่อสู้กับเครื่องบินอีกด้วย

เนื่องจากการเสริมเกราะและเสริมปืนต่อต้านอากาศยาน ทำให้เรือมีความเร็วไม่มากเท่าที่ควร แต่ก็ไม่ได้ช้ากว่าเรือลำก่อนหน้านี้

VII Colorado
อีกขั้นของการพัฒนาปืนใหญ่ ในเรือลำนี้จะใช้ปืนขนาด 406 มม. จำนวน 8 กระบอก ปืนถูกพัฒนามาจากรุ่นก่อน ๆ จะทำให้ประสิทธิภาพของปืนดีขึ้น เรือลำนี้ยังคงใช้ปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานขนาดเท่าเดิม

VIII North Carolina
มาถึงรุ่นนี้ มันถูกลดความหนาเกราะลงเล็กน้อยจาก VII Colorado เพื่อให้เรือเบาขึ้นและสามารถวิ่งได้เร็วขึ้น (ความเร็ว 27 น๊อต) เรือลำนี้ยังคงใช้ปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานขนาดเท่าเดิม

IX Iowa
จากรุ่นก่อนที่ลดความหนาเกราะ ทำให้มันมีความคล่องตัวมากขึ้น มีรายงานว่าเรือ VIII North Carolina สามารถทำงานร่วมกับเรืออื่น ๆ ได้ดี เช่น ไปคู่กับเรือลาดตระเวน รการพัฒนารุ่นนี้จึงเพิ่มความหนาเกราะเพียงเล็กน้อยจาก VIII North Carolina

X Montana
เรือลำนี้ได้ถูกออกแบบไว้ แต่ไม่ได้ถูกสร้างขึ้นมาใช้จริง เรือ Montana จะมีการเสริมเกราะให้หนาขึ้น แต่ว่าความเร็วจะลดลง มีปืนที่ดีขึ้น


Reference
http://worldofwarships.com/en/news/common/tech-tree-us-battleships/